แห เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตามหมู่บ้านชาวประมงโดยทั่วไป
ทั้งในน่านน้ำเค็มและน้ำจืด แหทุกชนิดมีลักษณะเหมือนกัน เมื่อแผ่ออกจะเป็นรูปวงกลม
ขอบตีนแหจะมีโซ่ทำด้วยเหล็ก(ลูกแห) เพื่อใช้ถ่วงแหให้จมตัวได้เร็ว
แหที่ใช้มักไม่คงทน จะชำรุดและต้องซ่อมเสมอ เพือเพิ่มความเหนียวของแหชาวบ้านจึงนำเปลือกของต้นประดู่
ไปต้มและสกัดเอาน้ำแล้วเอาแหแช่ลงไปในน้ำ
ซึ่งมีผลให้เชือกที่ทำแหเหนียวทนทานขึ้นบางท้องถิ่นย้อมด้วยเปลือกและลูกตะโกโดยนำมาทุบแล้วแช่น้ำจนมีสีดำใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนแล้วนำแหลงไปย้อม
กิม หรือ จีม
เป็นอุปกรณ์ในการสานใช้กรอด้ายคล้ายกระสวยทอผ้า มีลักษณะเป็นไม้ไผ่เหลาให้แบนหนาประมาณ ๓ - ๔ มิลลิเมตร กว้าง ๑
นิ้ว ยาว ๘ นิ้ว หัวแหลมมน ประมาณ ๑ ใน ๓
ส่วนของความยาว เจาะทะลุยาวตามส่วนหนึ่งในสามมีเดือยตรงกลาง ส่วนท้ายใช้มีดควงให้เป็นตัวยู
ปาน หรือ ไม้แบบ
มีลักษณะเป็นไม้ไผ่เหลาให้แบนคล้ายไม้บรรทัดยาว
๓-๖ นิ้ว หนาประมาณ ๒-๓
มิลลิเมตร ส่วนความกว้าง
ขึ้นอยู่กับตาของแหที่ต้องการ ( ตาแหขึ้นอยู่กับขนาด
ตัวปลา ที่เราต้องการ
เช่น แหตาถี่ใช้สำหรับจับปลาที่มีขนาดเล็ก แหที่มีตาห่างใช้จับปลา
ขนาดใหญ่ )
เชือก หรือ ด้าย
โซ่ หรือ ลูกตะกั่ว หรือ ลูกแห
วิธีการสาน
เอาด้ายไนล่อนสีขาวมาทำจอม
คือ จุดเริ่มต้นในการสานลักษณะการทำจอมมีบ่วงไว้
สำหรับห้อยแขวนระหว่างสาน การก่อจอมตีตะปูสองตัวระยะห่างแล้วแต่ความต้องการจอม
เล็กจอมใหญ่เสร็จแล้วใช้ด้ายพันรอบตะปูเก้ารอบ
ผูกหรือมัดไว้ให้แน่น
ถัก เพื่อความแข็งแรงสวยงาม เว้นปล่อยทั้งสองข้างประมาณข้างละ ๓ ซม.
ถักเสร็จแล้วหน้าตาเป็นแบบนี้
สานแข/ตัวขยาย สานเรื่อยๆ
ให้มีความยาวประมาณ ๓ เมตร ( หรือตามความต้องการ ) แล้วทำแหสำหรับผูกเพลาปล่อยตาลง อีกประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
นำโซ่หรือลูกตะกั่วหรือลูกแหมาสานต่อจากด้าย
วิธีการย้อม
เอาเปลือกไม้ประดู่มาต้มเคี่ยวให้แดง
พอน้ำร้อนแดงได้ที่ ยกลงปล่อยให้อุ่น
พอประมาณ ให้เอาแหลงแช่ประมาณ ๒-๓ ชม.
จึงนำออกตากแดดให้แห้ง จากนั้น
นำไปแช่น้ำโคลนประมาณ๑-๓ชม. จึงนำไปวักแหก็จะมีสีดำคงทนไม่ขาดง่าย